www.555happyprathai.com
พระพุทธชินราช
พระคู่บ้านคู่เมืองจ.พิษณุโลก
ที่มีความงดงามที่สุดในโลก
 
            555HappyPraThai  ** สุขสร้างได้ ** 
 
 
 เช่าบูชาพระเครื่อง 555happyprathai สุขสร้างได้
หน้าเว็บขายสินค้าทั่วไป
โชว์พระเครื่อง
เช่าบูชาพระเครื่อง่
สถานะการจัดส่ง EMS
เรื่องเล่าสู่กันฟัง
 
     เรื่องเล่าสู่กันฟัง
ประวัติพระพุทธชินราชจังหวัดพิษณุโลก
ประวัติสร้างพระพุทธชินราช 2485 อินโดจีน
ตามรอย"พุทธทาส"ในมุมที่คุนอาจไม่เคยรู้
คณาจารย์พิธีมหาพุทธาภิเษก "555 โตแน่นอน"
พบกลองโบราณโผล่ริมฝั่งโขง อายุ 800 ปี
พบ! เศียรพระเก่าแก่-พร้อมพระกรุกลางน้ำโขง
ประวัติพระสมเด็จวัดสะแก เมืองโคราช
เหรียญหลวงพ่อคูณปี 12 องค์แรก
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระอรหันต์
หลวงพ่อคูณ รุ่นอรหันต์สร้างบารมี ๙๑
หลวงพ่อทอง หนึ่งในศิษย์เอกหลวงพ่อคูณ
หลวงพ่อคูณนั่งยองหลวงพ่อทองนั่งยันต์
เหรียญเลื่อนหลวงปู่ทวดปี 08 ราคา 10 ล้าน
เนื้อนวโลหะเต็มสูตรคืออะไร?
EOD2 กับ รหัสโค๊ดของเนื้อพระ
EOD2 สุดยอดเหรียญหลวงพ่อคูณ
ประวัติสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีน พศ.2485



ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น

ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้ว ค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท
2. พระหล่อ รูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท
3. เหรียญปั๊ม รูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆทั่วราชอาณาจักร
- พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
เป็น องค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อี กด้วย จึงนับได้ว่า พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วย พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคนั้น

- กำหนดวันและสถานที่ทำการหล่อ
จะ ประกอบพิธีหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485 ซึ่งเป็นวันระหว่างงานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี

- นายช่างผู้ทำการหล่อ
กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อและออกแบบโดยตลอด

- สถานที่ติดต่อสั่งจองเฉพาะพระเครื่อง
ที่ ข้าหลวงประชาจังหวัดและนายอำเภอทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร และที่นายประมวล บูรณโชติ เลาขาธิการของสมาคม ณ สำนักงานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชอุทยานสราญรมย์ จังหวัดพระนคร

- เงินรายได้
จำนวนเงินรายได้ทั้งสิ้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้แบ่งส่วนเฉลี่ยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อนำไปจัดการดังต่อไปนี้
1. ให้กรมการสาสนา กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาและการกุศลสาธ ารณะต่างๆภายในจังหวัด
2. ให้คณะกรรมการจังหวัดพิษณุโลก สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และการกุศลสาธารณะต่างๆภายในจังหวัด
3. ให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นทุนในการดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตา มวัตถุประสงค์ของสมาคม

พระบูชา
- ได้จัดสร้างตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น องค์ละ 150 บาท

พระหล่อชินราช
- จัดสร้างประมาณ 90,000 องค์ เป็นเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก แต่สุดท้ายคัดเหลือ 84,000 องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์ ( ในตอนแรกได้หล่อ อกเลานูน ติดไว้ใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ และใช้วิธีตอกแทนจบครบ 84,000 องค์ ) นำออกให้เช่าบูชา 1 บาท องค์ไหนสวยสมบูรณ์ 1.50 บาท
พระหล่อชินราช แบ่งเป็นพิมพ์ทรงได้มากหลายพิมพ์ เช่น
1.พิมพ์สังฆาฎิยาว - แบ่งออกได้หลายพิมพ์ทรง หลายหน้า
2.พิมพ์สังฆาตฎิิสั้น - แบ่งออกได้หลายพิมพ์ทรง หลายหน้า
3.พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง - แบ่งออกได้หลายพิมพ์ทรง หลายหน้า
4.พิมพ์ต้อบัวขีด - แบ่งออกได้หลายพิมพ์ทรง หลายหน้า
5.พิมพ์พิเศษ อกเลานูน
6.พิมพ์พิเศษ ครึ่งซีก
พระปั๊ม(เหรียญ)  
- จัดสร้างจำนวน 3,000 เหรียญ เนื้่อทองแดงรมดำ นำออกให้เช่าบูชา 50สตางค์
( แหนบและเข็มกลัด รวมทั้งเหรียญกะไหล่เงิน-ทอง เป็นเหรียญแจกกรรมการ )
จุดประสงค์การสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน
- เพื่อให้ทหารและประชาชนได้มีพระเครื่องไว้บูชา เนื่องจากในสมัยนั้นเกิดภาวะสงครามอินโดจีน
พระพุทธชินราชวัดสุทัศน์เทพวราราม ปี ๒๔๘๕ ที่นักสะสมพระมักเรียกกันจนติดปากว่า "พระอินโดจีน"ถือกันว่าเป็นสุดยอดของพระเครื่องในยุคก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ สมาคมพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ ๒ สมาคม คือ พุทธธรรมสมาคม และ สมาคมยุวพุทธ ซึ่งในปีนั้นทางพุทธธรรมสมาคม ได้ดำริที่จะจัดสร้างพระพุทธชินราชจำลองขึ้น ซึ่งมีขนาดหน้าตักประมาณ ๑๑ นิ้ว และจะส่งไปในจังหวัดต่าง ๆทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา เพราะถือว่าพระพุทธชินราชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย และทางสมาคมยังมีดำริให้สร้างพระเครื่องเป็นรูปพระพุทธชินราชขนาดเล็กซึ่งเป็นรูปหล่อขึ้นอีกจำนวนประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ซึ่งเท่ากับพระธรรมขันธ์ โดยในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ได้เริ่มมีการเทหล่อพระพุทธชินราชได้ในบางส่วน แต่ก็ต้องหยุดชะงักลงเพราะได้เกิดสงครามอินโดจีนขึ้น จนกระทั่งสงครามอินโดจีนได้สงบลง ทั้ง ๒ สมาคมได้ตกลงใจที่จะรวมกันเพื่อจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่เป็น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และนำเอาตราธรรมจักรมาเป็นเครื่องหมายของสมาคม และได้แต่งตั้งพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วทางพุทธสมาคมก็ได้ดำเนินการจัดสร้างพระพุทธชินราชทั้งพระบูชา และพระเครื่องต่อไปอีกครั้งในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ ซึ่งถือว่าเป็นวันเสาร์ ๕ พอดี

ทางด้านพิธีกรรมในการจัดสร้างและปลุกเสกนั้น วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นผู้ดำเนินการ โดยมี พระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติธฺสเทวมหาเถระ) เป็นประธานดำเนินการสร้าง และ มีท่านเจ้าคุณมงคลราชมุนี (ท่านเจ้าคุณศรีฯสนธิ์) เป็นแม่งานในการสร้างพระพุทธชินราช ในส่วนที่เป็นพระเครื่องนั้น สมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านได้นำเอาชนวน พระกริ่งที่ท่านได้สร้างก่อนหน้านี้มาหลอมลงในเบ้าผสมเป็นจำนวนมากและยังมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นก็ได้มอบแผ่นยันต์ให้อีกเป็นจำนวนมากด้วยเพื่อนำมาเป็นส่วนผสมหลัก เมื่อหล่อพระเสร็จแล้ว ได้จัดให้มีพิธีปลุกเสกขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งมีพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณยอดเยี่ยมแห่งยุคจำนวนถึง ๑๐๘ รูป ซึ่งพิธีปลุกเสกของพระรุ่นนี้จัดได้ว่าเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ รายนามพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกคือ

 

1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์เทพวราราม
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์เทพวราราม
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสร(รอด) วัดบ้านไพ
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสกแต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)

 

รูปหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีนรุ่นนี้เป็นเนื้อโลหะผสมโดยมีทองเหลืองเป็นหลัก กระแสของเนื้อพระจะมีเอกลักษณ์คือกระแสจะออกเหลืองอมเขียว และขึ้นหุ่นเทียนโดยการเทน้ำเทียนลงไปในแบบซึ่งเป็นเบ้าประกบหน้าหลัง และพระส่วนใหญ่จะหล่อด้วยการหุ้มดินไทยแบบโบราณ เนื่องจากพระพุทธชินราชอินโดจีนเป็นพระเครื่องที่มีการจัดสร้างค่อนข้างมาก จึงต้องใช้ช่างเทหล่อหลายคนหลายสำนักมารับงานไปทำจึงทำให้พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์ทรง บางพิมพ์ก็ถูกถอดและแต่งซ้ำหลายครั้งเพื่อความรวดเร็วในการทำงานจึงกลายเป็นอีกพิมพ์หนึ่งไปโดยปริยาย โดยจะมีพิมพ์หลักๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมีดังนี้ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ ซึ่งแต่ละพิมพ์หลักๆก็ยังมีแบบพิมพ์แยกย่อยออกไปอีกหลายแบบตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ซึ่งประมาณได้ว่าน่าจะมีรวมๆแล้วไม่น้อยกว่า 16 พิมพ์เลยทีเดียว ใต้ฐานขององค์พระ ส่วนใหญ่จะตะไบแต่งทุกองค์ แล้วตอกโค๊ด"อกเลา"กับโค๊ด"ธรรมจักร"กำกับเอาไว้ บางองค์ซึ่งหล่อในครั้งแรกๆจะยังคงเห็นเป็นโค๊ดอกเลาที่หล่อนูนออกมาบริเวณใต้ฐานแต่เพียงอย่างเดียวโดยยังไม่ได้ตะไบทิ้งไปก็มี และที่ไม่ตอกโค๊ดอะไรเอาไว้เลยก็มีเนื่องจากตอกไม่ทันและโค๊ตเริ่มชำรุดซึ่งก็มีไม่น้อย พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากๆ จากวงการพระเครื่อง ได้แก่ พิมพ์สังฆาฏิยาวหน้านาง พิมพ์สังฆาฏิสั้นหน้าเสาร์ห้า ซึ่งองค์ที่อยู่ในสภาพเดิมๆ ผิวเต็มสวย โค๊ดเต็ม หรือที่มีโค๊ตอกเลานูนซึ่งหาได้ยากนั้นมีการซื้อขายกันถึงหลักแสนบาทกันมาแล้วก็หลายองค์ นอกจากจะต้องดูที่กระแสของเนื้อพระแล้ว สิ่งที่จำเป็นที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือจะต้องจำเรื่องของโค๊ด(อกเลามี2แบบ ธรรมจักรมี5แบบ)แต่ละตัวให้ละเอียดรอบคอบเพราะเดี๋ยวนี้ทำโค๊ตกันได้ดีขนาดปาดคอเซียนกันมาหลายราย ซึ่งเราอาจจะเจอประเภทองค์พระแท้แต่โค๊ดเก๊ก็เป็นได้ โดยนำเอาพระองค์แท้ๆที่ไม่ได้ตอกโค๊ดซึ่งมีราคาถูกกว่า แล้วนำโค๊ตเก๊มาตอกใหม่เพื่อนำมาขายในราคาพระมีโค๊ตซึ่งจะแพงกว่า หรือไม่ก็เก๊กันทั้งพระทั้งโค๊ต หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือพระเก๊ที่ไม่มีโค๊ตครับ

 

 
"กมฺมุนา วตฺตตีโลโก....สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" พระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ เป็นคำตอบที่ชัดแจ้ง สำหรับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นมากมายของโลกใบนี้
สุขสร้างได้ จงอย่าเห็นแก่ตัว สำนึกในหน้าที่ของความเป็นไทย รักประเทศไทย โปรดสร้างความสงบสุขให้คนในชาติ ช่วยกันทำให้ประเทศไทยเป็นแผ่นดินที่น่าอยู่ที่สุดในโลก
จงอย่าทะเลาะกัน อย่าสนับสนุนคนชั่วที่ทำตัวเป็นมะเร็งร้ายทำลายประเทศชาติ เพียงแค่นำความโลภ มาเป็นตัวคอยกำหนดชะตาชีวิต มันมีความสุขจริงหรือ จงคิดไว้เสมอ "นรกมีจริง"
Flag Counter
ID : 555happyok
©  555happyprathai  all  right  reserved.